เมื่อตั้งค่าคำสั่งซื้อขายล่วงหน้าในบัญชี Standard Cent, Standard, Pro, Zero และ Raw Spread คุณจะสามารถเปิดคำสั่งซื้อขายได้ในราคาซึ่งอยู่ในช่วงที่ห่างจากราคาปัจจุบันตามที่กำหนด ซึ่งเรียกช่วงห่างของราคานี้ว่า Stop Level โดยได้มีการระบุไว้แล้วสำหรับทุกคู่สกุลเงิน
ในกรณีที่สเปรดปัจจุบันมากกว่า Stop Level ที่มีการระบุไว้สำหรับเครื่องมือทางการเงิน ช่วงห่างของราคาจะต้องมากกว่าสเปรดปัจจุบัน
มาดูตัวอย่างง่ายๆ เพื่อทำความเข้าใจกัน
สมมติว่าคุณต้องการจะเปิดคำสั่ง Buy และตั้ง Stop Loss สำหรับคำสั่งดังกล่าว ราคาปัจจุบันคือ: 1.13831/1.13842
สเปรดปัจจุบันคือ 1.1 ปิ๊ป
Stop Level คือ 1.2 ปิ๊ป
เมื่อเปรียบเทียบตัวแปรทั้งสองแล้ว เราจะเลือกคำนวณด้วยจำนวนที่มากกว่าเสมอ ดังนั้น เมื่อจะตั้ง Stop Loss คุณจะต้องเอาตั้งไว้ที่ราคาซึ่งมีช่วงห่างจากราคาปัจจุบันอย่างน้อย 1.2 ปิ๊ป
ราคาที่ใกล้เคียงกับราคาปัจจุบันที่สุด สำหรับตั้ง Stop Loss = ราคา Bid ปัจจุบัน – Stop Level (1.2 ปิ๊ป)
= 1.13831 – 0.00012
=1.13819
ในกรณีที่คุณต้องการตั้ง Take Profit คุณจะต้องคำนวณด้วยการบวกเพิ่มด้วยจำนวนปิ๊ปของ Stop Level แทนการหักลบ
ราคาที่ใกล้เคียงกับราคาปัจจุบันที่สุด สำหรับตั้ง Take Profit = ราคา Bid ปัจจุบัน + Stop Level (1.2 ปิ๊ป)
= 1.13831 + 0.00012
=1.13843
ในการเทรดฟอเร็กซ์ คุณอาจพบการปิดคำสั่งซื้อขายอัตโนมัติ (stop out) ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันและนั่นอาจสร้างความรำคาญใจให้กับคุณ อย่างไรก็ตาม เทคนิคการบริหารจัดการความเสี่ยงจะช่วยให้คุณสามารถทดสอบเงื่อนไขการเทรดแบบต่างๆ เพื่อให้มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น เรามาดูกันว่าเลเวอเรจส่งผลต่อคำสั่ง Stop Out อย่างไร และคุณสามารถควบคุมการเทรดของคุณให้ดีขึ้นได้อย่างไร
คำสั่ง Stop Out ทำงานอย่างไร
ระดับมาร์จิ้นคืออะไร
เลเวอเรจคืออะไร
คำสั่ง Stop Out ทำงานอย่างไร
เมื่อระดับมาร์จิ้น (จะอธิบายเพิ่มเติมในภายหลัง) ถึงเปอร์เซ็นต์ที่กำหนด ในกรณีส่วนใหญ่จะเป็น 0% คำสั่ง Stop Out จะปิดสถานะดังกล่าวโดยอัตโนมัติ การแจ้งเตือนระดับมาร์จิ้น มีลักษณะคล้ายกัน แต่จะไม่ปิดสถานะของคุณโดยอัตโนมัติ โดยจะแจ้งเตือนถึงทิศทางขาลงของสถานะ เมื่อระดับมาร์จิ้นอยู่ที่ 60%
ระดับมาร์จิ้นคืออะไร
ระดับมาร์จิ้น คือเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่แสดงถึงมาร์จิ้นและอิควิตี้ของคุณ ซึ่งคำนวณได้จาก
อิควิตี้/มาร์จิ้น x 100 = ระดับมาร์จิ้น
ดังนั้น หากอิควิตี้ของคุณเท่ากับ $1000 และมาร์จิ้นของคุณเป็น $100 ระดับมาร์จิ้นจะเท่ากับ 1000%
1000/100 x 100 = 1000%
ดังนั้นเมื่อเปอร์เซ็นต์ไทล์นี้ถึง 0% คำสั่ง Stop Out จะปิดสถานะของคุณโดยอัตโนมัติ โดยเริ่มจากสถานะที่มีกำไรน้อยที่สุดก่อน ระบบจะหยุดสถานะที่ปิดอยู่เฉพาะเมื่อการทำเช่นนั้นจะส่งผลให้ระดับมาร์จิ้นมากกว่ามูลค่าที่กำหนดเป็นคำสั่ง Stop out
คำสั่ง Stop out จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่
เมื่อฉันเปิดคำสั่งซื้อขาย ระดับมาร์จิ้นของฉันจะคำนวณได้ดังนี้
1000/40 x 100 = 2500% (ระดับมาร์จิ้นเท่ากับ 2500%)
แต่ตอนนี้สถานะของฉันเป็นทิศทางขาลง และอิควิตี้ก็ลดลงด้วย สมมติให้เป็น $500
500/40 x 100 = 1250% (ระดับมาร์จิ้นตอนนี้เท่ากับ 1250%)
ยังคงไม่เพียงพอที่จะทำให้มีคำสั่ง Stop out แต่ระดับมาร์จิ้นลดลงครึ่งหนึ่ง ต่อมา สถานะตกลงอย่างหนัก ทำให้อิควิตี้ของคุณลดลงเหลือ $1
1/40 x 100 = 2.5% (ระดับมาร์จิ้นตอนนี้เท่ากับ 2.5%)
ยังคงไม่เพียงพอที่จะทำให้มีคำสั่ง Stop out แต่ก็ใกล้มากแล้ว สถานะของคุณติดลบ และตอนนี้อิควิตี้ของคุณอยู่ที่ $0
0/40 x 100 = 0% (ระดับมาร์จิ้นตอนนี้เท่ากับ 0%)
คำสั่ง Stop Out จะเกิดขึ้นทันทีและสถานะนี้จะถูกเพิกถอนโดยอัตโนมัติ
เลเวอเรจคืออะไร
เลเวอเรจจะเปลี่ยนแปลงมูลค่ามาร์จิ้นที่ถือเริ่มแรก รวมถึงอิควิตี้ของคุณ และอาจมีผลต่อคำสั่ง Stop out เลเวอเรจเป็นวิธีการเพิ่มกำลังซื้อของเทรดเดอร์ ตามอัตราที่กำหนด เช่น 1:200, 1:500 เป็นต้น โดย 1:200 หมายความว่าทุก $1 ที่ฝากเข้าไปในมาร์จิ้น จะมีมูลค่าเพิ่มเป็น $200 เลเวอเรจช่วยให้สามารถเทรดปริมาณมากได้โดยใช้มาร์จิ้นเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าเช่นกัน เนื่องจากสถานะมีแนวโน้มที่จะผันผวนมากกว่า
เลเวอเรจและคำสั่ง Stop out จะสัมพันธ์กับระดับมาร์จิ้น
ความผันผวนเป็นปัจจัยสำคัญในกรณีนี้
เลเวอเรจยิ่งสูง มาร์จิ้นยิ่งต่ำ สถานะก็เปลี่ยนแปลงเร็วกว่า
เลเวอเรจยิ่งต่ำ มาร์จิ้นยิ่งสูง สถานะก็เปลี่ยนแปลงช้ากว่า
เลเวอเรจสูงจะเร่งอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับมาร์จิ้นเร็วกว่า เมื่อเทียบกับเลเวอเรจต่ำ
คำสั่ง Stop Out ของทั้งสองสถานะข้างต้นจะส่งผลให้มีผลขาดทุนเท่ากัน แต่เมื่อมีเลเวอเรจสูงกว่า อัตราการเกิดคำสั่ง Stop Out จะเร็วกว่า เนื่องจากมีความผันผวนมากกว่า
โดยต้องพิจารณาแง่มุมที่มักถูกมองข้ามนี้ เพื่อให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างครอบคลุม
สว็อป (Swap)
สว็อปคือดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นกับสถานะที่เทรดเดอร์ถือไว้ข้ามคืนเพื่อเทรดต่อในวันถัดไป ค่าสว็อปนี้จะถูกเครดิตเข้าบัญชีหรือถูกหักออกจากบัญชีซื้อขายทุกวัน ณ เวลา 22.00 น. ตามเวลา GMT+0 จนกว่าสถานะนั้นจะถูกปิด (ตามรายละเอียดการคิดค่าสว็อปดังนี้)
สว็อปมีทั้งสว็อปสั้นและสว็อปยาว ขึ้นอยู่กับว่าคุณเปิดสถานะ Buy หรือ Sell อย่างที่คุณทราบอยู่แล้วว่าสถานะ Buy เรียกอีกอย่างว่าสถานะ Long ดังนั้นสว็อปของสถานะ Buy จึงเรียกว่า สว็อปยาว (Swap Long) เช่นเดียวกับสว็อปสำหรับสถานะ Sell หรือสถานะ Short ที่เรียกว่า สว็อปสั้น (Swap short) ค่าสว็อปอาจเป็นบวกหรือลบก็ได้ คุณสามารถดูข้อมูลของสว็อปของเครื่องมือการซื้อขายที่คุณสนใจได้ในข้อกำหนดเฉพาะของสัญญา